วันศุกร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2555

ลักษณะเด็กเรียนเก่ง

ลักษณะเด็กเรียนเก่ง
1. หลงใหลการเรียน

คุณครูหลายคนบอกว่า สังเกตเห็นเด็กเก่ง ๆ ทั้งหลายแล้วพบว่า เด็ก ๆ เหล่านี้อันดับแรกชอบเรียนหนังสือ และกระหายใคร่รู้ในวิชา สิ่งนี้เป็นแรงจูงใจอันยิ่งใหญ่ในการเรียน เรามีส่วนช่วยให้ลูกมองเห็นว่าการเรียนเป็นเรื่องน่าหลงใหลก็ต่อเมื่อพ่อแม่เองก็แสดงให้เขารู้ว่า การเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ น่าสนุกเพียงใด

2. เป็นนักแก้ปัญหาที่ดี

บางคนเกิดมาเพื่อดำรงตนเป็นนักแก้ปัญหาได้เลย บางคนเป็นได้ก็ต่อเมื่อได้รับการสอนทักษะนี้ค่ะ ผู้ใหญ่ช่วยให้เด็กพัฒนาความสามารถในการเป็นนักแก้ปัญหาด้วยการเป็นแม่แบบที่ดีด้วยค่ะ พูดคุยหรือเล่าสู่กันฟังในครอบครัวให้ลูกได้ยินด้วยว่า เราเคยแก้ปัญหาและเล่าวิธีแก้ปัญหาในเรื่องต่าง ๆ อย่างไรบ้าง ลูกจะเรียนรู้วิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหาจากเราและเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาสำหรับตัวเอง ถ้าเราชอบโวยวายเวลาเจอปัญหาละก็ ลูก ๆ ก็ไม่รู้จะไปเรียนการแก้ปัญหาได้อย่างไร

3. เป็นนักจัดการ

นักเรียนที่ดีเป็นนักจัดการที่ดี เขารู้ว่าจะจัดการกับการเรียนในวิชาต่างๆ จัดเวลาทำการบ้าน ดูหนังสือได้ไม่เดือดร้อน เราช่วยแนะนำวิธีการสร้างความเข้าใจในการเรียนได้ เช่น แนะนำว่าลูกควรจะจัดสรรเวลาในการเรียนอย่างไร ไม่จำเป็นต้องนั่งอ่านหนังสือตลอดเวลาโดยไม่ทำอย่างอื่น หรืออ่านหนังสืออย่างไรให้ได้ผล เช่น อ่านจับใจความสำคัญ หรือจดแยกคำศัพท์ต่างๆ ไว้

4. รู้ว่าจะขอความช่วยเหลือเมื่อไหร่

เด็กเรียนเก่งจะรู้ว่าเขามีความสามารถแค่ไหน เมื่อเกินความสามารถเขาจะหาทางออกด้วยการขอความช่วยเหลือ พ่อแม่ที่ให้ความสนใจลูกสม่ำเสมอจะช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จได้เพราะรู้ว่าจะช่วยเหลือลูกได้อย่างไร ลูกไม่อึดอัดเพราะพึ่งพ่อแม่ได้ พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องมีความสามารให้คำตอบในวิชาเรียนของลูก สิ่งที่ให้ได้คือวิธีคิดที่ลูกจะนำไปใช้เพื่อความเข้าใจบทเรียนได้ดียิ่งขึ้น

5. มีทักษะในการเรียน

เด็กเรียนเก่งจะทราบว่ามีวิธีเรียนอย่างไร และรู้ว่าจะเตรียมการอ่านทบทวนอย่างไร รู้จักจดโน้ตใจความสำคัญอ่านหนังสือเร็ว ทำความเข้าใจกับเรื่องที่อ่านได้ทะลุปรุโปร่ง ส่งเสริมลูกเราด้วยการหากเทคนิคการเรียนต่าง ๆ มาให้ลูก

เราควรมีส่วนร่วมกับการเรียนของลูก ให้ความสนใจกับการบ้านและการดูหนังสือเตรียมตัวสอบของเขาด้วยค่ะ
ที่มาhttp://women.kapook.com/view11812.html

การสอนเด็กเรียนอ่อน

การสอนเด็กเรียนอ่อนทำอย่างไร

ครูต้องเตรียมพร้อมในสิ่ง ต่อไปนี้
1. ทำใจ : อย่าติดยึดเพียงพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเด็กเป็นกำแพงที่ขวางกั้น ปิดเส้นทางที่ครูจะได้ออกแบบการเรียนรู้ตามหลักสูตรอย่างเหมาะสมด้วยความสามารถจริงๆ
2. เข้าใจ : ในความแตกต่างระหว่างบุคคล ว่า มนุษย์ย่อมมีความสามารถที่แตกต่างกันคนบางคนอาจจะเก่งในเรื่องนี้ แต่ไม่เก่งในเรื่องโน้น ไช่ว่าคนเราชั่วชีวิตจะไม่มีดีอะไรเลย ครูต้องค้นหาให้เจอแล้วครูจะรู้ว่า ควรจะสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธ์ให้กับเด็กได้ด้วยวิธีอะไรได้บ้าง
3. ใส่ใจ : พูดคุย ซักถาม เล็กๆน้อยๆ เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่น เป็นกันเอง ว่าครูยังเมตตาอยู่ยังให้โอกาสอยู่ มิได้มองเขาเป็นคนไร้ค่าที่ไม่มีโอกาสลุกยืนได้อีกแล้วชั่วชีวิตนี้ คิดตามด้วยความอดทน (การดูแลเด็กมีปัญหาจะยากกว่าการดูแลเด็กปกติหลายเท่านัก)
4.
ยั่วใจ : กระตุ้น ยั่วยุให้นักเรียนเกิดพลัง เมื่อเด็กท้อ ยอมแพ้ ไม่สู้ ครูต้องเติมไฟให้สู้ ให้อดทนเพื่อนักเรียนผ่านด่านแต่ละด่านไปให้ได้ และอย่าใช้วาจาเฉือนเฉือน เสียดสี ดูหมิ่น จนเด็กหนีหน้าไปเลย

ตัวอย่างการออกแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กเรียนอ่อน/ไม่สนใจเรียน/ขาดความอดทน /อื่นๆ
1. ชิ้นงานจะต้องไม่โตจนเกินไป อย่ารวมหลายจุดประสงค์ไปไว้ก้อนเดียวกัน
2. มีใบความรู้ ตัวอย่างประกอบ มีใบงานให้เลียนแบบตัวอย่าง ไม่ซับซ้อนมากนัก
3. ให้ชิ้นงานที่เรียงลำดับจากง่ายไปยาก (หมายถึงค่อยๆพัฒนา)
4.
ให้คะแนนเป็นตอนๆ เป็นขั้นตอน อย่าสรุปที่คำตอบเพียงอย่างเดียว
5. ควรบูรณาการศิลปะ และ ภาษาไทยในการออกแบบการเรียนรู้/ชิ้นงาน ด้วยกลุ่มบริหารงานวิชาการ
6. เก็บตก บรรยากาศการเรียนรู้ที่ผ่านมา แปลงค่าเป็นคะแนน แทนการสร้างชิ้นงานใหม่
7. ใช้กระบวนการวิจัยช่วยเหลือนักเรียนโดยการเชื่อมโยงระบบเรียนรู้และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้วยจะดีมาก
8. ตรวจผลงานเป็นระยะๆและแจ้งผลย้อนกลับทุกครั้ง

ตัวอย่างการจัดการเรียนรู้สำหรับเด็กเรียนอ่อน/มีปัญหาการเรียน
-บทเรียนสำเร็จรูป
-ชุดการสอน
-บันทึกการอ่าน
-การแปลความตามภาพ
-การเขียนเรียงความอย่างง่าย
-การใช้แผนที่ความ -การเรียนรู้ด้วยเกม เพลง
-การจัดการเรียนรู้แบบ คู่สัญญาเป็นต้น
ที่มาhttp://www.st2.ac.th/

ประเพณีสงกรานต์ไทย

ประเพณีสงกรานต์ไทยมีความเป็นมาดังนี้

ประเพณีสงกรานต์ ของไทยที่สืบกันมาอย่างช้านาน

โดยการนับ ระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกร กุมภ์ และ มีน การโคจร ผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาว เหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศ อินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก อินเดียเช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ วันเริ่มต้นปีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่ ราศีเมษนั้น โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า (วันที่ 13 เมษายน) วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก (วันที่ 15 เมษายน)
หรือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของประเทศไทยและบางประเทศในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และชาวต่างประเทศจะเรียกว่าเทศกาลนี้ว่า สงครามน้ำสงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมาย ถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี เมื่อวันสงกรานต์ตรงกับวันใดของแต่ละปี ซึ่งจะมีนางสงกรานต์ประจำวันนั้นๆ ชื่อของนางสงกรานต์

ที่มา http://www.dmc.tv/pages

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2555

สมุนไพรไทย


โหระพาไทย โหระพาเทศ

โหระพามีชื่ออื่นๆ คือ อิ่มคิมขาว (ฉาน-แม่ฮ่อง-สอน) กอมก้อ (เหนือ อีสาน) นางพญาร้อยชู้ โหระพาไทย โหระพาเทศ ห่อกวยซวย ห่อวอซู
โหระพาเป็นพืชตระกูลเดียวกับกะเพราและแมงลักแต่กลิ่นรสต่างกัน
ชื่อโหระพาภาษาอังกฤษคำว่า Basil มาจากภาษากรีก basileus แปลว่า "ราชา หรือ ผู้นำของปวงชน" ชื่อนี้เนื่องมาจากกลิ่นดุจเครื่องหอมในราชสำนักของโหระพา
ชื่ออื่นของโหระพาในภาษาแถบยุโรปมีรากศัพท์มาจากคำว่าราชานี้ทั้งสิ้น เชื่อว่าเป็นส่วนประกอบของสมุนไพรที่ราชวงศ์ยุโรปโบราณใส่ในน้ำอาบ
โหระพาเป็นไม้ล้มลุก สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนสีม่วงแดง
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปไข่หรือรูปรี กว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 4-6 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนมน ขอบจักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ มีขนอ่อนปกคลุมใบและต้น

ที่มา  http://samonpri.blogspot.com/